เข้าสู่วันที่ 5 ของภารกิจค้นหายานดำน้ำ "ไททัน" ซึ่งสูญหายหลังพานักท่องเที่ยวลงไปชมซากเรือไททานิกตั้งแต่ช่วงเช้าวันอาทิตย์ที่ผ่านมา โดยทีมค้นหานานาชาติ ยังระดมทุกสรรพกำลังแม้จะผ่านช่วงเวลาสำคัญ นั่นคือ เส้นตายที่ออกซิเจนในยานน่าจะหมดลงไปแล้วก็ตามคำพูดจาก เว็บสล็อต777
อุปกรณ์ที่อาจเป็นความหวังสุดท้ายในการค้นหา คือ หุ่นยนต์อัตโนมัติใต้น้ำ Victor 6000 ของเรือวิจัยฝรั่งเศส ที่สามารถดำลงไปใต้น้ำลึกถึง 6,000 เมตร จึงมีศักยภาพพอจะลงไปถึงจุดที่ซากเรือไททานิกจมอยู่ (3,800 เมตร) และถ่ายภาพส่งขึ้นมาบนผิวน้ำได้
ผู้เชี่ยวชาญไทยชี้ ภารกิจค้นหา “ไททัน” เหมือนปิดตาคลำตามเสียง
ภรรยาพลขับ “เรือดำน้ำไททัน” เป็นลูกหลานผู้เสียชีวิตเรือไททานิก
ครบรอบ 111 ปี “เรือไททานิก” จากโศกนาฏกรรม สู่จุดท่องเที่ยวใต้ทะเล
นอกจากนี้ Victor 6000 ยังมีแขนกลที่ควบคุมได้จากระยะไกล สามารถตัดสายเคเบิลได้ ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในกรณีที่ยานดำน้ำติดอยู่กับซากเรือไททานิก
ล่าสุด เรือวิจัย L'Atalante ของฝรั่งเศส พร้อมหุ่นยนต์ใต้น้ำ Victor 6000อยู่ในจุดค้นหา เตรียมจะหย่อนลงไปใต้ทะเลแล้วซึ่งในกรณีที่พบยานดำน้ำแล้ว Victor 6000 จะไม่สามารถดึงขึ้นจากทะเลเองได้ต้องทำงานร่วมกับเรือHorizon Arctic ของแคนาดา ที่มีเครนติดกับตัวเรือ ซึ่งกระบวนการดึงยานดำน้ำขึ้นจากก้นทะเลอาจใช้เวลาอีกหลายชั่วโมง
ฝั่งแคนาดา ก็ส่งยานสำรวจไร้คน (ROV) ลงไปถึงใต้ทะเลแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการค้นหายานดำน้ำ "ไททัน"
ทีมข่าวต่างประเทศPPTV มีโอกาสได้พูดคุยกับนาวาโท สุระ บรรจงจิตร (นอกราชการ) ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรือดำน้ำ ในเรื่องของออกซิเจนที่กำลังจะหมดลง นาวาโทสุระ ระบุว่า การคำนวณระยะเวลาของอากาศหายใจที่เราเห็นว่า ออกซิเจนจะหมดในเวลา 5 โมงเย็นนั้น ข้อมูลนี้น่าจะมาจากการคำนวณจากอัตราปกติ แต่ในสถานการณ์จริงก็ยังขึ้นอยู่กับกิจกรรมหรือการออกแรงด้วย
ถ้าเป็นการอยู่นิ่ง ๆ ทำกิจกรรมน้อย ก็ใช้อากาศหายใจน้อยลงและอาจช่วยยืดระยะเวลาออกไปได้บ้าง
ส่วน ดร.เค็น เลเดซ ผู้เชี่ยวชาญด้านออกซิเจนบำบัดจากมหาวิทยาลัยเมมโมเรียล ในรัฐนิวฟันแลนด์ ของแคนาดา อธิบายถึงปัจจัยที่มีผลต่อการอยู่รอดหลังออกซิเจนหมดว่า ขึ้นอยู่กับระบบเมตาบอลิซึม หรือการเผาผลาญของแต่ละคน ความรู้สึกหลังจากที่ออกซิเจนหมดจะไม่เหมือนกับการปิดสวิตช์ไฟ แต่เป็นการปีนขึ้นภูเขา และสิ่งที่จะตามมา คือ ภาวะตัวเย็น ซึ่งจะส่งผลต่อระบบร่างกาย อีกปัจจัยสำคัญ คือ ระบบไฟฟ้าในยาน ซึ่งจะคอยควบคุมระดับออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ให้สมดุล หากไฟฟ้าไม่ทำงานในขณะที่ออกซิเจนเริ่มลดลง ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่หายใจออกมาก็จะสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนเป็นเหมือนแก๊สยาสลบ ซึ่งเป็นสภาวะที่เป็นอันตรายได้
สำหรับพื้นที่ค้นหาในตอนนี้ เน้นไปยังจุดที่ตรวจพบเสียงเคาะหรือเสียงทุบใต้น้ำ แต่จนถึงขณะนี้ เจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถระบุที่มาของเสียงได้
เดวิด มาร์เกต์ อดีตกัปตันเรือดำน้ำนิวเคลียร์ของกองทัพเรือสหรัฐฯ ตั้งข้อสังเกตว่าเสียงใต้น้ำที่ตรวจพบอาจไม่ได้มาจากยานดำน้ำไททัน แต่เป็นเสียงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานของพลเรือตรีจอห์น มาเกอร์ ผู้นำภารกิจค้นหา ที่ให้สัมภาษณ์ว่า จุดที่ซากเรือไททานิกจมอยู่มีวัตถุโลหะจำนวนมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดเสียงกระแทกใต้น้ำได้ รวมถึง ศาสตราจารย์เจฟฟ์ คาร์สัน ผู้เชี่ยวชาญเรื่องคลื่นโซนาร์ ที่เตือนว่า เสียงเคาะใต้น้ำที่ได้ยินอาจไม่ได้มาจากยานไททัน แต่มาจากซากเรือไททานิก ซึ่งเต็มไปด้วยเศษชิ้นส่วนสึกกร่อนผุพัง หลุดร่วงลงสู่ก้นทะเลอยู่ตลอดเวลา ขณะที่ เดวิด กัลโล นักสมุทรศาสตร์ เผยว่า เสียงใต้น้ำที่พบระหว่างค้นหายานดำน้ำไททัน คล้ายกับสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างภารกิจค้นหาเที่ยวบินโดยสารมาเลเซีย แอร์ไลน์ส MH370 ซึ่งหายสาบสูญและยังเป็นปริศนาที่ไร้คำตอบมานานกว่า 9 ปีแล้ว
ขณะเดียวกัน อลัน เอสตราดา ยูทูบเบอร์ท่องเที่ยวชาวเม็กซิกัน คือ หนึ่งคนที่เคยลงไปทำคอนเทนต์ชมซากเรือไททานิกกับยานดำน้ำ "ไททัน" ของบริษัท โอเชียนเกต เอ็กซ์พิดิชั่น เมื่อปี 2022 เจ้าตัวบอกว่า เป็นการเดินทางที่เสี่ยงอันตรายมาก ๆ
เอสตราดาเล่าว่า ในปี 2021 ตนเองและผู้โดยสารคนอื่น ๆ ลงไปกับยานไททัน แต่ภารกิจถูกยกเลิก จากนั้น ในปี 2022 เขาลงไปดูซากเรือไททานิกสำเร็จ แต่ภารกิจในครั้งนั้นก็เกือบถูกยกเลิก เพราะยานไททันขาดการติดต่อกับเรือหลักที่อยู่บนผิวน้ำไปชั่วขณะ เคราะห์ดี ที่สามารถแก้ไขได้
ยูทูบเบอร์ดังบอกว่า ทุกคนที่ลงไปกับยานไททันทราบดีถึงความเสี่ยงที่ต้องเจอ เราต้องเซ็นเอกสารหลายแผ่น ซึ่งอธิบายความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นทั้งหมด รวมถึงความเสี่ยงที่จะเสียชีวิต ทุกคนรู้ดีว่านี่ไม่ใช่การไปเที่ยวเล่นในสวนสนุก
ภาพจาก AFP